วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มหาวิหารซาเคร-เกอร์.

มหาวิหารซาเคร-เกอร์

Basilique du Sacré-Cœur de Montmartre



มหาวิหารพระหฤทัยแห่งมงมาทร์ (Basilique du Sacré-Cœur de Montmartre) เป็นโบสถ์และมหาวิหารรองในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดของกรุงปารีส หรือที่เรียกกันว่า "มงมาทร์" สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่พระหฤทัยของพระเยซู ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักของกรุงปารีส โดยถือเป็นอนุสาวรีย์ของทั้งสองด้าน คือการเมือง และวัฒนธรรม
โบสถ์ได้ถูกออกแบบโดยโปล อะบาดี ซึ่งเป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งใน 77 สถาปนิกผู้ชนะการประกวด เริ่มการก่อสร้างในปี ค.ศ.1875 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ.1914 โดยได้รับการแต่งตั้งโดยสมบูรณ์ (วางศิลาฤกษ์) ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ.1919
ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตั้งแต่ 06.00 น. จนถึง 22.30 น. โดยสามารถเข้าชมบริเวณโดมได้ตั้งแต่ 09.00 น. จนถึงเวลา 19.00 น. หรือ 18.00 น. ในช่วงฤดูหนาว



การก่อสร้าง

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบสถ์มีความเป็นเอกลักษณ์มากในยุคนั้น โดยสถาปนิกเจ้าของโครงการ โปล อะบาดี ได้เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบโรมัน-ไบแซนไทน์ (Romano-Byzantine) ซึ่งจัดว่าแปลกใหม่ เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูบาโรก (Neo-Baroque) ดั่งที่ปรากฏที่โรงอุปรากรปาแลการ์นีเยอย่างสิ้นเชิง การออกแบบโบสถ์ได้หยิบยกสัญลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมในสมัยนั้นมาเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น ประตูทางเข้า อันประกอบไปด้วยช่องโค้ง (ซุ้มประตู) 3 ช่อง ด้านบนประดับรูปสำริด ของนักบุญแห่งประเทศฝรั่งเศส คือ นักบุญโยนออฟอาร์ค และนักบุญพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส โดยมีระฆังหนักกว่า 19 ตัน หล่อในปีค.ศ.1895
ตัวโบสต์ก่อจากหินปูนประเภททราเวอร์ทีน ซึ่งมีเหมืองตั้งอยู่ที่เมือง ชาโต้-ลองดง ในเขตชานเมืองปารีส โดยคุณสมบัติพิเศษของหินชนิดนี้จะมีการคายแคลเซียมออกมาเป็นระยะ ทำให้คงความขาวของสิ่งปลูกสร้างได้ยาวนาน ในสภาวะภูมิอากาศต่างๆได้
ภายหลังจากการเริ่มต้นก่อสร้างส่วนฐานรากไม่นาน อะบาดี ก็ถึงแก่กรรมลงในปีค.ศ.1884 โดยได้มีสถาปนิกอีก 5 คนรับผิดชอบต่อ โดยในระหว่างการก่อสร้าง สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักลง จนเสร็จสิ้นภายหลังสงครามในปีค.ศ.1919
มูลค่าการก่อสร้างทั้งหมดคิดเป็นเงินประมาณ 7 ล้านฟรังก์ โดยมาจากเงินบริจาคทั้งสิ้น โดยผู้มีจิตศรัทธาสามารถมีส่วนร่วมในการอุทิศเงินสร้างส่วนต่างๆของโบสถ์ได้อีกด้วย และยังได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นให้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างจนแล้วเสร็จ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น